วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

หยุดกิน...อาหารโซเดียมสูง

โซเดียมสูง แต่คุณภาพชีวิตไม่สูง


       คำว่า “อาหารโซเดียมสูง” หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาหารที่มีความ "เค็ม"เพียงอย่างดียวเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่แค่ความเค็มเพียงอย่างเดียว เพราะอาหารที่มีโซเดียมสูงอาจแทบไม่มีความเค็มอยู่เลยก็ได้


ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ “โซเดียม” กันก่อนดีกว่า


      โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ดังนี้

  • ช่วยในการทำงาน ของประสาทและกล้ามเนื้อ
  • รักษาความดันโลหิต
  • ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
  • ดูดซึมสารอาหารบางชนิด

แม้โซเดียมจะส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้าได้รับเกินปริมาณที่กำหนดไว้ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายด้วยเช่นกัน


โซเดียมสูงส่งผลต่อร่างกายอย่างไร


  • แม้ว่าโซเดียมจะมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆทำให้เกิดอาการบวม และอาการอื่นๆอีกมาก
  • ทำให้ความดันโลหิตสูง การรับประทานโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ
  • เกิดผลเสียต่อไตจากการที่มีการคั่งของน้ำและความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น อีกทั้งยังมีผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย


แหล่งที่มาของโซเดียม


      โซเดียมที่เรารับประทานกันเป็นประจำมักอยู่ในรูปของ เกลือแกง  น้ำปลา ซึ่งมีรสเค็ม แต่ยังมีอาหารอีกมากที่ไม่มีรสเค็ม แต่มีปริมาณโซเดียมสูง และแน่นอนว่าอาหารที่มีโซเดียมสูงแต่ไม่มีรสเค็มเหล่านี้เป็นอีกสาเหตูที่ทำให้เราได้รับโซเดียมเกินค่าที่กำหนดโดยไม่รู้ตัว

       ประเภทของอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไข่เค็ม ลูกชิ้น ไส้กรอก แคบหมู ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารดองเค็ม อาหารแช่อิ่ม อาหารตากแห้ง เครื่องดื่ม ขนมปัง ส่วนเครื่องปรุงอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมอยู่สูง ได้แก่ เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ผงชูรส กะปิ ผงปรุงรส น้ำมันหอย เครื่องพริกแกง น้ำปลาร้า ผงฟู

     จะเห็นได้ว่าอาหารที่มีโซเดียมสูงบางชนิดไม่มีรสเค็มเลย แน่นอนว่าผู้บริโภคไม่มีทางทราบเลยว่าอาหารที่บริโภคอยู่นั้นมีโซเดียมสูง (เว้นแต่ถ้ามีฉลากโภชนาการอยู่บนบรรจุภัณฑ์) เมื่อเราไม่ทราบปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรากินเช่นนี้ ทางที่ดีจึงควรลดการรับอาหารที่เค็ม เพราะอย่างน้อยเราก็ทราบว่ามันมีโซเดียม อย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณโซเดียมที่เข้าสู่ร่างกายได้ส่วนหนึ่ง


เทคนิคง่ายๆ ในการควบคุมปริมาณโซเดียมในร่างกาย คือ ต้อง “กินให้เป็น” ยกตัวอย่างเช่น


  • เลือกของว่างที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ถั่วลิสงหรือธัญพืชไม่อบเกลือ แทนของว่างประเภทเค้ก เบเกอรี่ ช็อกโกแลต หรือมันฝรั่งทอดกรอบ เนื่องจากอาหารจำพวกเบเกอรี่จะมีปริมาณโซเดียมสูง
  • พยายามทำอาหารรับประทานเอง เนื่องจาก เราสามารถทราบและควบคุมจำกัดปริมาณของโซเดียมที่ใส่ลงไปในอาหารได้
  • เวลารับประทานอาหารประเภทที่เป็นน้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ไม่ควรที่จะซดน้ำก๋วยเตี๋ยวจนหมดเนื่องจากในน้ำก๋วยเตี๋ยวจะมีปริมาณโซเดียมสูงมาก

และยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้เพื่อนๆควบคุมปริมาณโซเดียมที่กินเข้าไปได้ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าต้อง“กินให้เป็น”นะครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Read more: http://tomatoessource.blogspot.com/2013/05/numbered-page-navigation.html#ixzz3UzSlDPrQ IT Blog Program Tools Tricks