อาหารสำหรับวัยผู้ใหญ่

โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ หรือวัยทำงาน

pixabay.com

       วัยผู้ใหญ่วัยทำงานนั้นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาในวัยผู้ใหญ่ แต่ไม่มีการเจริญเติบโต เซลล์ในร่างกายมีกระบวนการสร้างและการทำร้ายเท่ากัน

โดยความต้องการพลังงาน (energy requirement) จะขึ้นอยู่กับ
  • Resting energy expenditure, REE 61 - 75% (Basal metabolic rate ; BMR)
  • Energy for activity and exercise 20 - 25%
  •  Energy for specific dynamic action 5 - 10%
  • Entries for growth 12%
โดยจะเห็นได้ว่าความต้องการพลังงานของร่างกายส่วนใหญ่มาจาก basal metabolic rate (BMR) เป็นหลัก โดย BMT จะขึ้นอยู่กับ
  • Body composition
            -fat mass
            -lean body mass เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก
  • Surface area
            -เพศ (โดยปกติ เพศชายจะมี surface area มากกว่าเพศหญิง)
  • Body temperature เช่น ไข้
  • สภาวะร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์
*นอกจากนี้ BMR ยังขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ น้ำหนักตัวและส่วนสูง อีกด้วย

วิธีคำนวณการเผาผลาญพลังงาน Basal Metabolic Rate (BMR)


  • ผู้ชาย : BMR = 66 + (13.7 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (5 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (6.8 x อายุ)
  • ผู้หญิง : BMR = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (1.7 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (4.7 x อายุ)

เมื่อหาค่า BMR (Basal Metabolic Rate) มาแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าเรามีการการเผาผลาญพลังงานโดยไม่ทำกิจกรรมอะไรเลยเท่าไร

นอกจาก BMR แล้ว ความต้องการพลังงานยังมาจาก physical activity อีกด้วย โดยจะขึ้นอยู่กับ
ระดับความหนักของการทำงาน หรือการออกกำลังกาย

ดัชนีมวลกาย

·         สมส่วน
18.5 - 22.9
·         เริ่มอ้วน
23.0 - 24.9
·         อ้วน
ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป

โดยหลักการในการบริโภคอาหารควรปฏิบัติตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ


  1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว 
  2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทข้าว-แป้งเป็นบางมื้อ 
  3. กินพืช ผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ 
  4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ 
  5. ดื่มนมให้เหาะสมตามวัย เด็กควรกินนมวันละ 2 - 3 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1 - 2 แก้ว
  6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร 
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด 
  8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  9. งด หรือลด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ยังควรมีการกระจายพลังงานจากอาหารดังนี้
  • คาร์โบไฮเดรต 55 - 60%
  • โปรตีน 15%
  • ไขมัน 25 - 30% แบ่งเป็น 
    • กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid or SFA) น้อยกว่า 10%
    • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acid or MUFA) มากกว่า 10%
    • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acid or PUFA)
    • ไขมันทรานส์ น้อยที่สุด

ความต้องการวิตามิน


โพลาซิน หรือ โฟเลต

  • เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ nucleic acid ควบคุมการสร้างโปรตีน
  • ในภาวะปกติ ต้องการโฟเลต 400 ไมโครกรัม
  • ส่วนสตรีมีครรภ์ ต้องการเพิ่มจากปกติ 200-400 ไมโครกรัม เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดง และเพื่อช่วยในการเจริญของเนื้อเยื่อ
  • แหล่งอาหารของโฟเลตได้แก่ ตับ ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว เป็นต้น

ธาตุเหล็ก

  • เป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
  • นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบในกล้ามเนื้อ และโคเอนไซม์หลายชนิด ซึ่งช่วยในการดำรงชีวิต

ไอโอดีน

  • เป็นสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันเพื่อให้เกิดพลังงาน

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอีกด้วย ได้แก่

  • อาหารรสจัด หวาน มัน และเค็มจัด
  • อาหารปนเปื้อน ไม่สะอาด
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน และน้ำอัดลม

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ
  • ไม่ปรุงอาหารเอง
  • กินอาหารรสเค็มจัดหวานจัดมันจัด
  • กินผักผลไม้น้อย
  • ออกกำลังกายน้อย
  • ทำงานมากพักผ่อนน้อย
  • เครียด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลัง
  • อายุ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Read more: http://tomatoessource.blogspot.com/2013/05/numbered-page-navigation.html#ixzz3UzSlDPrQ IT Blog Program Tools Tricks