วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

อาหารสำหรับวัยสูงอายุ

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ


en.wikipedia.org
                           
       ในปัจจุบันนี้สังคมเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์มีมากขึ้น ส่งผลให้คนมีอายุยืนมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีมากขึ้น นอกจากนี้สมัยก่อนคนมีลูกเยอะแต่ปัจจุบันคนมีลูกน้อยลง ทำให้สัดส่วนระหว่างวัยรุ่นที่เกิดขึ้นมาใหม่กับสัดส่วนผู้สูงอายุต่างกันมากขึ้น
       เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นเป็นบุคคลสําคัญในบ้านของเรา เราจึงควรดูแลท่านในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงสภาพจิตใจด้วย

ผลของการชราภาพต่อภาวะโภชนาการ


       เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาต่างๆมากมายที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหาร ได้แก่

             ฟัน โดยประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เสียฟันทุกซี่ในช่องปาก ดังนั้นการใส่ฟันปลอมจะช่วยให้ผู้สูงอายุนั้นเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น

             - การรับรสและการรับกลิ่น ความไวต่อการรับรสและรับกลิ่นนั้นลดลงเมื่อเข้าสู่วัยชรา

             - การกระหายน้ำ ผู้สูงอายุจะเสียการรับรู้เกี่ยวกับการกระหายน้ำบางส่วน ทำให้เกิดอาการของภาวะขาดน้ำ  สับสน ริมฝีปากแห้ง ตาลึก อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น วิงเวียน ความดันสูง ท้องผูก ดังนั้น การบริโภคน้ำจึงสำคัญ จึงควรวัดตวงปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน หรือดื่มน้ำวันละ ลิตรหรือวันละ แก้ว

             - ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุนั้นจะสูญเสียความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของทางเดินอาหาร ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง ดังนั้นอาการท้องผูกจึงเกิดในผู้สูงอายุ ถึง เท่า

             - ไต การกรองของเสียช้าลงเมื่อมีการสูญเสียหน่วยไต นอกจากนี้การเสื่อมของไตยังอาจเกิดจากการบริโภคอาหารโปรตีนที่มากเกินไป ส่งผลให้ความสามารถในการขับสารที่เกิดจากการสลายโปรตีนลดลง และความสามารถในการเปลี่ยนอนุพันธ์ของวิตามินดีในรูปของ inactive form เป็น active form ลดลงอีกด้วย

     นอกจากระบบข้างต้นที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบอื่นอีกมากมายที่มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเมื่อสูงอายุ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการหายใจ การได้ยินและการมองเห็น การสะสมของไขมันที่เพิ่มขึ้น รวมถึงในเรื่องของหลอดเลือด เป็นต้น 
     จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากมาย ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญและใส่ใจกับผู้สูงอายุในบ้านของเราอย่างใกล้ชิด

ความต้องการพลังงานและสารอาหารของผู้สูงอายุ


            - น้ำ ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

            - พลังงาน ความต้องการพลังงานของผู้ใหญ่จะลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ 10 ปี อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้นกิจกรรมทางกายลดลงสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการพลังงานลดลง ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

            - โปรตีน เมื่อความต้องการพลังงานลดลง โปรตีนที่ควรได้รับต้องเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและให้พลังงานต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่โดยเฉพาะไข่ขาว ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยหรือไขมันต่ำ ถั่วต่างๆ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งป้องกันการเกิดการสลายกล้ามเนื้อ
                         

            - คาร์โบไฮเดรตและใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากสามารถป้องกันโปรตีนของร่างกายจากการถูกใช้เป็นพลังงานได้ คาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับความเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ถั่วต่างๆ ผัก ผลไม้ ธัญพืช ซึ่งเป็นแหล่งของใยอาหารวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย การบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงและการดื่มน้ำให้เพียงพอ จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

             - ไขมัน ผู้สูงอายุควรจำกัดการบริโภคไขมันจากอาหาร แต่ในผู้สูงอายุบางแครายการจำกัดการบริโภคไขมันที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหารบางตัวและภาวะน้ำหนักลด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่าการมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน เพราะไขมันเองก็มีข้อดีอยู่เช่นกัน เช่น การป้องกันโรคหลอดเลือดแข็ง และโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อม

            - วิตามินดี การขาดวิตามินดีนั้นเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ โดยมักมีสาเหตุมาจาก การได้รับแสงแดดน้อยลง ความสามารถในการสร้างวิตามินดีของผิวหนังลดลง การทำงานของไตลดลง

           - วิตามินบี 12 ผู้ที่มีภาวะ atrophic gastritis เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12

           - แร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Read more: http://tomatoessource.blogspot.com/2013/05/numbered-page-navigation.html#ixzz3UzSlDPrQ IT Blog Program Tools Tricks